ปัจจัยในการเลือก
1. จำนวนช่องของตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท
สำหรับตู้นั้น จะมีรุ่นหลากหลายช่องให้เลือกใช้งาน มีตั้งแต่ 4-18 ช่อง ซึ่งจำนวนช่องที่ว่านั้นเป็นจำนวนช่องของเบรกเกอร์วงจรย่อย ส่วนช่องเมนเบรกเกอร์นั้นจะมีอยู่แล้ว และให้การเลือกจำนวนช่องนั้นอย่าลืมเผื่อการต่อขยายโหลดให้อนาคตด้วย หรือ Spare ซึ่งจำนวนช่องการ Spare นั้นขึ้นอยู่กับโอกาสการต่อขยายอย่างเช่น บ้านมี 3 ห้องนอนแต่ปัจจุบันแต่ติดแอร์แค่ 2 ห้องนอนเท่านั้นเพราะอีกห้องเนื่องด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ดังนั้นเราควรมี Spare ไว้สัก 2 ช่องเผื่อแอร์ห้องนอน 1 ห้องที่ยังไม่ได้ติดและห้องนั่งเลยที่ต้องการติดแอร์เพิ่มในอนาคต
2. การติดตั้งแบบ Plug-on
เนื่องด้วยคอนซูมเมอร์ยูนิทเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเบรกเกอร์ดังนั้นจะต้องเลือกให้เหมาะกับการติดตั้งเบรกเกอร์เมนและเบรกเกอร์ลูกย่อยด้วย ซึ่งหลักๆที่เป็นที่นิยมได้แก่ ปลั๊กออน (Plug-on) ข้อดีที่เห็นได้ชัดของแบบปลั๊กออนคือ ไม่ต้องเดินสายไฟจากเมนเบรกเกอร์ไปยังเบรกเกอร์ลูกย่อย เนื่องจากทางผู้ผลิตได้ติดตั้งบัสบาร์ให้อยู่แล้ว ทำให้ประหยัดสายและดูเรียบร้อยกว่า
โดยทั่วไปทางผู้ผลิตเบรกเกอร์ส่วนใหญ่แล้วจะมีตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทควบคู่มาด้วยเพื่อสะดวกในการติดตั้ง ดังนั้นขอแนะนำให้เลือกเบรกเกอร์กับคอนซูมเมอร์ควรเป็นแบรนด์เดียวกัน
3. เมนเบรกเกอร์และเบรกเกอร์ลูกย่อย
เมนเบรกเกอร์
เมนเบรกเกอร์จะมีอยู่ 2 แบบ คือ เมนเบรกเกอร์ MCB และ เมนเบรกเกอร์ RCBO ซึ่งเมนเบรกเกอร์ที่มีเครื่องตัดไฟดูดในตัว ซึ่งการทำงานของเมนเบรกเกอร์ชนิดนี้คือถ้าวงจรย่อยไหนในระบบมีการเกิดไฟดูดไฟรั่วเมนเบรกเกอร์ก็จะตัดไฟทั้งหมดในระบบเลยทำให้ไฟดับทั้งบ้าน แต่ถ้าท่านไม่ต้องการการทำงานแบบนี้สามารถติดตั้ง RCBO ที่เฉพาะวงจรย่อยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟดูดไฟรั่วได้เช่น วงจรเต้ารับ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น แล้วใช้เมนเบรกเกอร์ MCB แทน ส่วนคุณสมบัติของเมนเบรกเกอร์ที่ควรมีเพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดในการติดตั้งระบบไฟในที่พักอาศัยนั้น เมนเบรกเกอร์จะต้องมีค่าทนการลัดวงจรสูงสุดหรือ IC หรือ Icu หรือ kA จะต้องมีค่า IC ไม่น้อยกว่า 10kA, 2 Pole (ไม่ใช่ 1P+N) ส่วนพิกัดกระแสขึ้นอยู่กับโหลด
เบรกเกอร์ลูกย่อย
เบรกเกอร์ลูกย่อยก็จะมีอยู่ 2 แบบเช่น คล้ายๆกับเมนเบรกเกอร์ ส่วนมากจะใช้แบบ 1 Pole, ค่าทนการลัดวงจรสูงสุดต้องไม่น้อยกว่า 6kA เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดในการติดตั้งระบบไฟในที่พักอาศัย ส่วนพิกัดกระแสขึ้นอยู่กับโหลด
4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device) คือ เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดกระแสไฟฟ้าภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าและออก มีค่าไม่เท่ากัน นั่นคือมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนที่รั่วหายไป เช่น รั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินหรือกระแสไฟฟ้ารั่วผ่านคนที่ไปสัมผัสอุปกรณ์ที่มีไฟรั่วอยู่ ขณะใช้งานปกติจะไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ดังนั้น เครื่องตัดไฟรั่ว จะไม่ทำงาน
- RCBO (Residual Current Circuit Breakers with Overload protection) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันได้ทั้งไฟรั่วไฟดูด โหลดเกินและไฟฟ้าลัดวงจรได้ หรือพูดง่ายๆคือ 3 in 1 ในตัวเดียวกันเลย แต่ตัวนี้ราคาอาจจะแพงกว่า RCCB ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว RCBO จะใช้ติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทที่เป็นการติดตั้งแบบปลั๊กออน (Plug-on)
5. มาตราฐาน
เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้งานนั้นควรมีมาตราฐานกำกับไว้ ซึ่งแต่ละอุปกรณ์นั้นจะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไป สามารถดูมาตราฐานของแต่ละอุปกรณ์ได้ตามตารางข้างล่างได้เลย
อุปกรณ์ | มอก. | IEC |
คอนซูมเมอร์ยูนิท | 1436-2540 | 61439-1,61439-3 |
MCB | 60898 | |
RCBO | 909-2548 | 61009 |
RCCB | 2425-2552 | 61008 |
6. แหล่งหาซื้อง่าย?
ในการจะตัดสินใจซื้อสิ่งหนึ่งที่อย่าลืมคำนึงถึงในเรื่องของ การหาซื้อง่าย เนื่องจากอุปกรณ์เบรกเกอร์มีอายการใช้งาน ถ้าในอนาคตอุปกรณ์ดังกล่าวพังเสียหายเราจะสามารถหาซื้ออุปกรณ์มาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย
7. ราคารวม
Consumer Unit + Components + Wires + Labour